ข้อบังคับของสมาคม

ข้อบังคับ

ของ

สมาคมนักธุรกิจไทยจีนเชียงใหม่

(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4)

 

หมวดที่ 1

ความทั่วไป

ข้อที่ 1    สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมนักธุรกิจไทยจีนเชียงใหม่”

เรียกชื่อเป็นภาษาจีนว่า “ชิงมั่ยจงหัวซังหุ้ย”

เขียนเป็นอักษรจีนว่า “ 清邁中華商會”

เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ไทยไชนีสบีสเนส เอสโซซิเอชั่น ออฟ เชียงใหม่”

เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAI CHINESE BUSINESS ASSOCIATION OF CHIANG MAI ”

มีอักษรย่อว่า “TCBA”

 

ข้อ 2       เครื่องหมายของสมาคมเป็นรูปวงกลม อักษรจีนอยู่ตรงกลางอ่านว่า “ซัง” มีชื่อภาษาไทยอ่านว่า “สมาคมนักธุรกิจไทยจีนเชียงใหม่” อยู่ด้านบนและมีอักษรจีนอยู่ด้านล่างอ่านว่า “ชิงมั่ยจงหัวซังหุ้ย” ดวงตราสำคัญของสมาคมเป็นดังนี้

 

 

ข้อที่ 3    สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ เลขที่ 232 หมู่ที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินเชียงใหม่ – ลำปาง ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140 โทร 053 – 422948 – 9 สำนักงานสาขาของสมาคมตั้งอยู่ ณ – ไม่มี –

ข้อที่ 4    วัตถุประสงค์ของสมาคม

4.1. เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพ และความสามัคคีปรองดองในมวลสมาชิก และครอบครัวสมาชิก

4.2. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในทางธุรกิจการค้าแก่มวลสมาชิก

4.3. เพื่อส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ การค้า การศึกษา การพัฒนาเยาวชน สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ไทย – จีน

4.4. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ในด้านธุรกิจการค้าเพื่อให้ทันต่อ

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม

4.5. เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อและประสานงานกับองค์กรชาวไทยเชื้อสายจีนในด้านธุรกิจ

การค้า การศึกษา และวัฒนธรรม และร่วมดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก

ครอบครัวสมาชิก องค์กร และสังคม

4.6. เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานงานและสร้างความสัมพันธ์ด้านธุรกิจการค้า

การศึกษา และวัฒนธรรมกับประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

4.7. เพื่อจัดให้สมาชิกมีสถานที่พบปะสังสรรค์ และประกอบกิจกรรมอันเป็นการส่งเสริมสุขภาพ

และพลานมัย

4.8. เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณกุศล ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทังนี้วัตถุประสงค์ทั้งหมดของ

สมาคมไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

 

หมวดที่ 2

สมาชิก

ข้อที่ 5    สมาชิกของสมาคมมี 2 ประเภท คือ

5.1. สมาชิกสามัญ ได้แก่ พ่อค้า นักธุรกิจชาวจีน หรือผู้สืบสันดานขอชาวจีน ซึ่งได้ประกอบธุรกิจ

การค้าพาณิชยกิจอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และใกล้เคียง

5.2. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการะคุณแก่สมาคม

ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

ข้อที่ 6    สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

6.1. เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว

6.2. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย

6.3. ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

6.4. ไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือ

เสมือนไร้ความสามารถหรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษการ

ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าวจะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก

ของสมาคมเท่านั้น

ข้อที่ 7    ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม

7.1. สมาชิกสามัญ จะต้องเสีย ค่าลงทะเบียนครั้งแรก               100.00      บาท

ค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ         1,000.00  บาท

7.2. สมาชิกกิตติมศักดิ์ มิต้องเสียค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น

 

ข้อ 8       การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ยื่นใบสมัคร

ตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 1 คน และให้เลขานุการ

ติด ประกาศรายชื่อผู้สมัครไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันเพื่อให้สมาชิก

อื่นๆของสมาคมจะได้คัดค้านการสมัครนั้น เมื่อครบกำหนดประกาศแล้ว ก็ให้เลขานุการนำใบสมัครและ หนังสือ คัดค้านของสมาชิก(ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่าจะรับหรือไม่ รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม และเมื่อ คณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้ว ผลเป็นประการใดให้ เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว

ข้อ 9       ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้รับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชำระเงิน ค่าลง
ทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการ
และสมาชิกภาพของผู้สมัครให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง
สมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชำระเงิน ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงภายในกำหนด
ก็ให้ ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก

ข้อ 10    สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่สมาคมได้ออกหนังสือเชิญเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์และสิ้นสุดลงตามวาระของคณะกรรมการบริหารเมื่อครบวาระ

ข้อ 11    สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
11.1 ตาย
11.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการและคณะกรรมการได้
พิจารณา อนุมัติ

11.3 ขาดคุณสมบัติสมาชิก

11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจาก

ทะเบียนเพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤติตนนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม

ข้อ 12     สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
12.1 มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
12.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่สมาคมจัดให้มีขึ้น
12.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็น
กรรมการสมาคม และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง
12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
12.7 มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด ร้องขอต่อคณะกรรมการ
ให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
12.8 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ของสมาคม
12.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

 

หมวดที่ 3
การดำเนินกิจการของสมาคม

ข้อ 13     ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่บริการกิจการสมาคมจำนวนไม่เกิน40คน โดยที่ประชุมใหญาสามัญประจำปีเลือกสมาชิกสามัญเป็นกรรมการของสมาคมจำนวนไม่เกิน 25 คน เลือกตั้งนายกจากกรรมการ 25 คน ทำการสรรหาบุคคลที่เห็นสมควรอีกไม่เกิน 15 คน เข้ามาเป็นกรรมการสมทบรวมแล้วไม่เกิน 40 คนส่วนตำแหน่งต่างๆให้นายกสมาคมมีอำนาจจัดสรรตำแหน่งแต่เพียงผู้เดียว

13.1 นายกสมาคม           ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม
คณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม

13.2 อุปนายก                     ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคมปฏิบัติตามหน้าที่นายกสมาคม ได้มอบหมาย และทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทน นายกสมาคมให้ ตำแหน่งเป็นผู้กระทำการแทน

13.3 เลขานุการ                ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมดเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของ
สมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคมเป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆ ของสมาคม

13.4 เหรัญญิก                     มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายบัญชีงบดุลของสมาคมและเก็บเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ของสมาคมไว้เพื่อการ ตรวจสอบ

13.5 ปฏิคม                          มีหน้าที่ในการต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

13.6 นายทะเบียน              มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก

13.7 ประชาสัมพันธ์         มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียง เกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและ
บุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จัก แพร่หลาย

13.8 กรรมการ                     ตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นโดยมีจำนวนเมื่อรวมกับ ตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ให้ถือว่า เป็นกรรมการกลาง

ข้อ 14     คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปีและเมื่อคณะกรรมการอยู่ใน ตำแหน่ง  ครบกำหนดตามวาระแล้ว  แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ  ก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่าง คณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ ได้รับอนุญาตจดทะเบียน จากทางราชการ
14.1 เมื่อคณะกรรมการอยู่ครบ 2 ปีให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในการเลือกตั้งนั้นจะเลือกผู้ที่ดำรง
ตำแหน่งสืบต่อไปใหม่ก็ได้ ยกเว้นตำแหน่งนายกจะได้รับเลือกเป็นนายกติดต่อกันเกินกว่า
สองสมัยมิได้

ข้อ 15    ตำแหน่งคณะกรรมการสมาคมถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง
สมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น สำหรับตำแหน่งนายกสมาคมจะได้รับเลือกเป็นนายกติดต่อได้ไม่เกิน 2 สมัย และในกรณีที่ตำแหน่งนายกว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระด้วยเหตุผลใดก็ตามให้กรรมการของสมาคมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งดำรงตำแหน่งแทน และให้อยู่ในตำแหน่งเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามวาระ

ข้อ 16    กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระก็ด้วยเหตุผลต่อไปนี้  คือ
16.1 ตาย
16.2 ลาออก
16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ
16.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง
ข้อ 17    กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการที่ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ
คณะกรรมการและให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อ 18    อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
18.1 การทำนิติกรรมใดๆของสมาคมหรือในการลงลายมือชื่อในงานเอกสารข้อบังคับและสรรพ
หนังสืออันเป็นหลักฐานผูกพันสมาคม การอรรถคดีจะต้องผ่านมติของคณะกรรมการ โดยมี
นายกสมาคมร่วมกับกรรมการอีก 2 คน ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของสมาคม จึง
จะถือว่าเป็นการสมบูรณ์ผูกพันสมาคมตามกฎหมาย
18.2 มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติโดยระเบียบปฏิบัตินั้น จะต้องไม่
ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
18.3 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
18.4 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรือ อนุกรรม
การจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
18.5 มีอำนาจที่เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี  และประชุมใหญ่วิสามัญ
18.6 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
18.7 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ
ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
18.8 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมดรวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
18.9 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกสามัญจำนวน 1 ใน 3 ของ
สมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่ วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้
มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน  30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
18.10 มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ  ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ  และสามารถจะให้สมาชิกตรวจดู
ได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
18.11 จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิก
ได้รับทราบ
18.12 มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้
ข้อ 19    คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้จัดขึ้นในวัน 15 ของทุก ๆ
เดือน ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อ 20    การประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการ
ทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้
เป็น อย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงมากเป็นเกณฑ์แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการ
ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 21    ในการประชุมคณะกรรมการถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่
สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเองเพื่อให้ กรรมการ
คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ 4
การประชุมใหญ่

ข้อ 22    การประชุมใหญ่ของสมาคมมี 2 ชนิด คือ
22.1 ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
22.2 ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 23    คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ 1 ครั้งภายในไม่เกิน 90 วัน
นับแต่วันสิ้นสุดของทางการบัญชีของทุกๆปี
ข้อ 24    การประชุมใหญ่วิสามัญ  อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นสมควรจัดให้มีขึ้นหรือ
เกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกัน ของสมาชิกไม่นิ้ยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่อ
คณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น
ข้อ 25    การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ
และการแจ้งจะต้องเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวันเวลาและสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้
สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ  สำนังาน
ของสมาคม เป็นเวลาไม่น้อยกล่าว 7 วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่
ข้อ 26    การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
26.1 แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
26.2 แถลงบัญชีรายรับรายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
26.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดตามวาระ
26.4 เรื่องอื่นๆถ้ามี
ข้อ 27    ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วม
ประชุมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่า 50 คน ครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุม
ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมก็ให้เลือนการประชุมคราวนั้นออกไปและให้
จัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนุ่งภายใน 14 วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้ไม่
บังคับว่าต้องครบองค์ประชุม
ข้อ 28    การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่  ถ้าข้อบังคับได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียง
ข้าง มากเป็นเกณฑ์แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุม
เป็นผู้ชี้ ขาด
ข้อ 29    ในการประชุมใหญ่สามัญของสมาคม  ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุม
หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุม
คนใด คนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

 

หมวดที่ 5
การเงินและทรัพย์สิน


ข้อ 30    การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคม
ถ้ามีให้นำฝากไว้กับสถาบันการเงินที่คณะกรรมการได้ลงมติโดยเอกฉันท์ให้นำฝากไว้
ข้อ 31    การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการ
แทนลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือผู้ทำการแทน พร้อมกับประทับตราของสมาคม จึงจะถือว่า
ใช้ได้
ข้อ 32    ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 10,000.00 บาท (หนึ่งหมื่นบาท
ถ้วน) ถ้าเป็นกรรณีฉุกเฉินจะต้องมีความเห็นชอบร่วมกับอุปนายก 1 คนและเหรัญญิกไม่เกิน
50,000.00 บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน) แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการสมาคมทราบในการประชุม
คราวต่อไป ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการจะอนุมัติให้
จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 200,000.00 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ถ้าจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่านี้ต้อง
ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
ข้อ 33    ให้เหรัญญิกของสมาคมมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 2,000 บาท (สอง
พันบาท)ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวย
ให้
ข้อ 34    เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายและ    บัญชีงบดุลให้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ
การรับ หรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือ
ผู้ทำการแทน ร่วมกันเหรัญญิก หรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อ 35    ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้
รับอนุญาต
ข้อ 36    ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการ
และสามารถจะเรียกกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์
สินของสมาคมได้
ข้อ 37    คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ

 

 

หมวดที่ 6
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม


ข้อ 38    ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์
ประชุม ใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญ เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 คน ของสมาชิกสามัญ
ทั้งหมด มติของที่ ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียง
ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ 39    การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุ
ของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ ที่ให้เลิกสมาคม จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
ของสมาชิกสามัญที่เข้าประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่า ครึ่งหนึ่งของ
สมาชิกสามัญ ทั้งหมด
ข้อ 40    เมื่อสมาคมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้
ชำระบัญชี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของมูลนิธิช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงวิทยา

 

หมวดที่ 7
บทเบ็ดเตล็ด

ข้อ 41    การตีความในข้อบังคับของสมาคม หากเป็นที่สงสัยให้๕ณะกรรมการสมาคมโดยเสียงข้างมากของ
จำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 42   ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคมมาใช้บังคับในเมื่อข้อบังตับ
ของสมาคมมิได้กำหนดไว้